


![]() | ![]() |
---|---|
![]() |
การใช้จุลินทรีย์ในการป้องกัน
การป้องกันและกำจัด :
1. พยายามทำแปลงปลูกให้สะอาดอยู่เสมอ เผาทำลายต้นเป็นโรคให้หมดสิ้นเพื่อขจัด การแพร่ระบาดของเชื้อโดยทางสัมผัส
2. กำจัดวัชพืชและพืชอาศัยต่างๆของเชื้อให้หมดไปจากแหล่งปลูก ซึ่งจะช่วยลดจำนวน เชื้อโรคและแมลงต่างๆลงไปด้วย และอาจใช้ยาฆ่าแมลงควบคุมปริมาณเพลี้ยอ่อนร่วมด้วย
3. เนื่องจากเชื้ออาจถ่ายทอดโดยผ่านทางเมล็ดได้ จึงควรใช้เมล็ดพันธุ์จากต้นที่ไม่แสดง อาการโรคในการปลูกครั้งต่อไป
4. ใช้พันธุ์พืชต้านทานโรค เช่น Tablegreen, Zamnaanga และ Gemini เป็นต้น
ลักษณะอาการ :เชื้อเข้าทำลายได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต แต่มักจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงในระยะต้นกล้า ใบเลี้ยง (cotyledon) อาจจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีด หรือไม่เปลี่ยนก็ได้ แต่จะหยุดชะงักการเจริญเติบโต ในที่สุดก็จะเหี่ยวแห้งและตายไป ถ้าเชื้อเข้าทำลายเมื่อต้นโตแล้ว จะทำให้ใบแตงด่างเป็นหย่อมๆ สีเขียวอ่อนสลับเขียวเข้ม (mottled) ทั่วใบ ใบหดย่นและมีขนาดเล็กลง ขอบใบม้วนงอลงด้านล่าง ต้นแคระแกรน ปล้องหดสั้น ใบยอดแตกเป็นฝอยกระจุก (rosette) ถ้าเป็นมากใบจะเหลืองแห้งตาย เชื้อเข้าทำลายที่ผลได้ ทำให้ผลแตงเกิดอาการด่างลายสีเหลืองซีดหรือขาว ผิวแตงเป็นปุ่มนูนตะปุ่มตะป่ำขรุขระทั่วผล และอาจซีดขาวคล้ายแตงดอง (whitepickle) ผลผลิตลดลงทั้งคุณภาพและปริมาณ
สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อไวรัส หลายชนิดด้วยกัน เช่น Cucumber mosaic virus , Watermelon mosaic virus
การแพร่ระบาด
เชื้อติดไปกับเมล็ดเป็นโรค มีเพลี้ยอ่อนเป็นตัวถ่ายทอดโรคนอกจากนี้เชื้อถ่ายทอดได้ง่ายโดยทางสัมผัส (Mechanical trasmission) และอยู่ข้ามฤดูตลอดจนทำลายพืชชนิดต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น ตำลึง หงอนไก่ บานชื่น พริก
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
พืชต้นอ่อนจะเกิดโรคได้ง่ายและรุนแรงกว่าพืชต้นโต ในต้นอ่อน ใช้เวลาเพียง 4-5 วัน ในขณะที่ต้นโต โดยเฉพาะที่เริ่มติดผลกินเวลา 8-20 วัน