top of page

จุลินทรีย์ที่ผลิตฮอร์โมนพืช

จุลินทรีย์ที่ผลิตสารป้องกันและทำลายโรคพืช

จุลินทรีย์ที่ละลายฟอสเฟตและธาตุอาหารพืช

จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายสารอินทรีย์

จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน

กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทางการเกษตร

ประเภทจุลินทรีย์

มีประสิทธิภาพในการป้องกันและยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียพวกที่ก่อโรคบางชนิด เช่น กลุ่มแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติกจุลินทรีย์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องการออกซิเจนละมีประโยชน์อย่างมากในการเกษตร เช่น ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชให้มีจำนวนน้อยลง

แบคทีเรียหลายสายพันธุ์ เช่น Bacillus sp. สามารถสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มแบคทีเรีย เพราะทำงานเร็วและมีจำนวนอยู่มาก โดยครึ่งหนึ่งของมวลจุลินทรีย์ทั้งหมดในโลกคือ แบคทีเรีย

แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องอยู่ร่วมกับตัวอื่นถึงจะตรึงไนโตรเจนได้แบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน และอีกกลุ่มหนึ่งที่ตรึงไนโตรเจนได้อย่างอิสระ

 จุลินทรีย์พวกนี้สามารถทำให้ธาตุอาหารพืชหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ทองแดง และแมงกานีสลินทรีย์ที่มีความสามารถในการแปรสภาพฟอสฟอรัสจะมีทั้งกลุ่มที่ทำหน้าที่เปลี่ยนอินทรีย์ฟอสฟอรัสและอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช 

เป็นพวกที่ย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ ประกอบไปด้วย แบคทีเรีย รา แอคติโนมัยซิท และโปรโตซัว จุลินทรีย์พวกนี้พบได้ทั่วไประหว่างการสลายตัวของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่างๆ ซากพืช ซษกสัตว์ ใบไม้ กิ่งไม้ เศษหญ้า ทำให้เกิดปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ขึ้นมาได้เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ น้ำหมักชีวภาพ

อ้างอิงจาก กรมพัฒนาที่ดิน http://www.ldd.go.th/menu_5wonder/

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

bottom of page