top of page

โรคใบจุด

สาเหตุของโรค :  เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคใบจุด สามารถอาศัยอยู่ในซากพืช และในดินได้ดี หรือติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ สปอร์จะแพร่ระบาดได้ดีไปกับลม และน้ำฝน น้ำที่ใช้ในระบบพ่นฝอย ช่วยให้โรคจะบาดได้เร็วขึ้น นอกจากนี้วัชพืชที่อยู่รอบๆแปลงปลูก จะเป็นแหล่งหลบอาศัยของเชื้อได้

ลักษณะอาการ : เป็นขีดสีน้ำตาลแดงสั้นๆ ขนานไปกับเส้นใบ บางครั้งจะกระจายไปทั่วทั้งใบและขยายไปทางกว้าง ทำให้เกิดอาการใบจุดและผลลามติดต่อกันทำให้เกิดอาการใบไหม้ โดยมากเกิดจากริมใบเข้าไป แผลมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบผลมีสีน้ำตาลเข้ม พบทุกระยะการเจริญเติบโต โดยมากเป็นกับกล้วยน้ำว้าทำให้จำนวนหวีน้อยลง ขนาดผลเล็กลง

การป้องกันและกำจัด : 
- มีการปรับสภาพของดินที่เป็นกรดโดยการใส่ปูนขาว อัตราที่ใช้ประมาณไร่ละ 4-5 ตัน
- หมั่นทำความสะอาดแปลงปลูกและเครื่องมือเครื่องใช้อยู่เสมอ เนื่องจากเชื้อชนิดนี้สามารถแพร่ กระจายได้ง่าย
- ทำลายต้นกล้วยที่เป็นโรค โดยการสุมไฟเผาหรือขุดหลุมฝังให้ลึกอย่างน้อย 3-4 ฟุต
- หลักเลี่ยงการปลูกในหลุมเดิมที่เคยปลูกมาแล้ว
- ควรลดธาตุไนโตรเจนให้น้อยลง การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากจะทำให้พืชอ่อนแอเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
- ทำความสะอาดโคนกอกล้วยอย่าให้เกิดรกรุงรัง และทำทางระบายน้ำให้ดี

การใช้จุลินทรีย์ในการป้องกัน

โรคใบจุด
โรคใบเน่า
โรคใบเหี่ยว
โรครา
โรคแอนแทรกโนส
โรคปุ่มปม
โรคใบไหม้
ใบจุด4
ใบจุด3
โรคใบจุด

อ้างอิงจาก กรมพัฒนาที่ดิน http://www.ldd.go.th/menu_5wonder/

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

bottom of page